โครงการ Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล

ด้วยเชื่อว่าคอนเทนต์ไทยมีหลายแง่มุมที่น่าสนใจ มีเส้นทางที่หลากหลายให้ได้ไปต่อ อีกทั้งนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ของไทยก็เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก เพียงแต่ต้องการ ‘โอกาส’ ในการพัฒนาทักษะ และ ‘โอกาส’ ในการเรียนรู้และได้รับคำแนะนำเฉพาะทางจากผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสายงาน เพื่อให้ตกผลึกการสร้างสรรค์คอนเทนต์ในแบบฉบับของตนเอง ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศไทยและในระดับสากลมากยิ่งขึ้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA จึงร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการ Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2566 โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างเดือนมีนาคม - กันยายน 2566  

Content Lab เป็นโครงการยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยสู่ระดับสากล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการผลิตคอนเทนต์ในกลุ่ม ภาพยนตร์และซีรีส์ (Film & Series) และ ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) ของไทย ให้มีศักยภาพในการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเป้าหมายในระดับสากล โดยตั้งเป้ายกระดับทักษะและความเชี่ยวชาญของทีมผู้เข้าร่วมโครงการ ผ่านการอบรมเชิงลึก การบรรยาย และการปฏิบัติจริง รวมถึงมอบโอกาสให้ทีมผู้เข้าร่วมได้นำเสนอโครงการของตนเองกับนักลงทุน เพื่อต่อยอดโอกาสทางธุรกิจต่อไป 

โครงการ Content Lab แบ่งเป็น 2 โปรแกรม ได้แก่
1. ภาพยนตร์และซีรีส์ (Film & Series) ดําเนินการโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA
2. ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) ดําเนินการโดย บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)

Program: Film & Series 

สำหรับโปรแกรม Film & Series เป็นคอร์สอบรมเข้มข้นเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์และซีรีส์ให้แก่โปรดิวเซอร์ ผู้กํากับ และนักเขียนบท ที่มีประสบการณ์จริงในการทําคอนเทนต์ ภาพยนตร์ และซีรีส์ในเชิงพาณิชย์ โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องฟอร์มทีม และนำเสนอคอนเทนต์สำหรับการพิจารณาเบื้องต้นแก่คณะกรรมการ และนำมาใช้พัฒนาต่อในการอบรม 

หลังจากเปิดรับสมัคร มีผู้สนใจเข้าร่วมสมัครมากกว่า 90 ทีม และทีมงานได้คัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบทั้งสิ้น 20 ทีม โดยแบ่งเป็น

- Film Track จำนวน 13 ทีม
- Series Track จํานวน 7 ทีม 

กิจกรรมต่าง ๆ ของโปรแกรม Film & Series ภายใต้โครงการ Content Lab  

1. การอบรมและเวิร์กช็อป (Workshop/Lecture)
22 เมษายน - 25 มิถุนายน 2566

กิจกรรมการอบรมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแถวหน้าของวงการภาพยนตร์และซีรีส์ทั้งไทยและต่างประเทศ ผ่าน 18 คลาสเรียนแบบเจาะลึก และการเวิร์กช็อปเพื่อพัฒนาผลงานร่วมกับเมนเทอร์ทั้ง 7 ท่านอย่างใกล้ชิด ภายใต้การนำของคุณปิง-เกรียงไกร วชิรธรรมพร หัวหน้าโครงการผู้จัดทำหลักสูตร Content Lab

Head of Program: 
หัวหน้าโครงการผู้จัดทำหลักสูตร Content Lab 
- เกรียงไกร วชิรธรรมพร

Mentor:     
วิทยากร/คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และซีรีส์ 
- วรุณพร ตรีเทพวิจิตร 
- จิรัศยา วงษ์สุทิน
- โสฬส สุขุม
- รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค
- ดมิสาฐ์ องค์ศิริวัฒนา 
- สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์
- ชยนพ บุญประกอบ

Lecturer:
นอกจากนี้ ยังมีผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และซีรีส์มากกว่า 20 ท่าน มาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำในคลาสเรียนเข้มข้น

2. การนำเสนอ Project Proposal (Proposal Pitching)
30 มิถุนายน 2566

กิจกรรมการนำเสนอ Project Proposal ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 19 ทีม หลังผ่านการอบรมและเวิร์กช็อป โดยเป็นการคัดเลือกเพื่อรับทุนสนับสนุนในการผลิตวิดีโอตัวอย่างเนื้อหา กิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจากทีมเมนเทอร์ ผู้เชี่ยวชาญในวงการภาพยนตร์และซีรีส์ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) และผู้แทนสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือกผลงาน 

รายชื่อทีมที่ได้รับการคัดเลือกทั้งสิ้น 13 ทีม ประกอบด้วย  

Film Track จํานวน 8 ทีม 

(1) PLOYDREAMROSE

(2) LOOP

(3) 789

(4) ตามล่าไอ้หน้าหนวด

(5) T2K

(6) SKIN

(7) BABEL KARAOKE

(8) A26


Series Track จํานวน 5 ทีม

(1) คืนนี้ไม่ต้องนอน

(2) POWERPUFF GRUMPY GIRLS 

(3) THERE'S A PICTURE IN THE LAUNDRY

(4) XING-YUN-BAO-XIAN

(5) SSK

 

3. กิจกรรม Final Pitch และกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Final Pitch Event & Business Matching)
28 สิงหาคม 2566

กิจกรรมสุดท้ายของโครงการที่เปิดโอกาสให้แต่ละทีมที่ได้รับทุนสนับสนุนในการผลิตวิดีโอตัวอย่างเนื้อหา ได้นำเสนอผลงานแก่บุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เช่น สตูดิโอ ค่ายหนัง ผู้ผลิตภาพยนตร์และซีรีส์ และสตรีมมิงแพลตฟอร์มชั้นนำ ผ่านการ Pitching บนเวที ประกอบด้วยการ Pitch Deck ในหลากหลายรูปแบบ เช่น Presentation, Video Pilot และ Budget ซึ่งทีมผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่สนใจสามารถพูดคุยรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในกิจกรรม Business Matching 

สรุปผลโครงการ Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล 

Program: Digital Content 

โปรแกรม Digital Content คอร์สอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงานและต่อยอดเชิงธุรกิจในอนาคต เช่น Virtual Production, AR/VR, CG และ 3D Model สำหรับนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะพันธมิตรหลักของโครงการ Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล โดยเป็นแกนหลักในกลุ่ม Digital Content 

ทีมผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 13 ทีม ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมมากกว่า 12 หลักสูตร และฝึกปฏิบัติจริงจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ พร้อมสัมผัสประสบการณ์การทำงานใน XR Studio ชั้นนำของประเทศ จากนั้นทีมผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสนำองค์ความรู้มาพัฒนาผลงาน และเข้าร่วมการคัดเลือกในรอบ Proposal Pitching เพื่อขอรับการสนับสนุนจาก ปตท. ทั้งด้านความรู้และเงินสนับสนุนสำหรับผลิตชิ้นงานเดโม ภายใต้หัวข้อ “Meaningful Travel” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยพร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ แบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่ 1) Location Base & Platform 2) Games 3) Film & Advertising โดยในปีนี้มีทีมผู้ผ่านการคัดเลือกในรอบ Proposal Pitching ทั้งสิ้น 6 ทีม จากจำนวน 13 ทีม 

6 ทีมสุดท้ายได้ผลิตชิ้นงานเดโมพร้อมรับคำแนะนำจากเมนเทอร์ ก่อนนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการและตัวแทนจากองค์กรชั้นนำของเมืองไทยในรอบสุดท้าย (Final Pitch) โดยผู้ชนะเลิศได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท เพื่อการต่อยอดและสร้างสรรค์ผลงานในระดับสากล สำหรับทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม LocalXplorer ในหมวด Location Base & Platform โดยเป็นแอปพลิเคชันสำหรับการท่องเที่ยว ที่เชื่อมโยงนักท่องเที่ยวกับเรื่องราวและคุณค่าทางวัฒนธรรมของชุมชน ด้วยเทคโนโลยี AR และ Ask Bot ที่ทำลายข้อจำกัดด้านการสื่อสาร

ทั้งนี้ ได้มีการแถลงสรุปผลและความสำเร็จของโปรแกรม Digital Content ร่วมกับโปรแกรม Film & Series ในงานแถลงข่าวสรุปผลโครงการ Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 9 กันยายน 2566   

Project Update

09.09.2566

กิจกรรมโปรแกรม Digital Content

บรรยากาศกิจกรรมของโปรแกรม Digital Content ภายใต้โครงการ Content Lab

28.08.2566

กิจกรรม Final Pitch และกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Final Pitch Event & Business Matching)

บรรยากาศกิจกรรม Final Pitch Event & Business Matching ในโปรแกรม Film & Series

30.06.2566

กิจกรรมการนำเสนอ Project Proposal

บรรยากาศกิจกรรมการนำเสนอ Project Proposal ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 19 ทีม ในโปรแกรม Film & Series 

25.06.2566

การอบรมและเวิร์กช็อป (Workshop/Lecture)

บรรยากาศการอบรมและเวิร์กช็อป (Workshop/Lecture) ของโปรแกรม Film & Series วันที่ 22 เมษายน - 25 มิถุนายน 2566 โดยคุณปิง-เกรียงไกร วชิรธรรมพร หัวหน้าโครงการผู้จัดทำหลักสูตร Content Lab