Creative Industries Report

รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2565: การออกแบบ

“เพราะการออกแบบเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม…” 

รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2565 สาขาการออกแบบ

ดาวน์โหลด บทสรุปผู้บริหาร | Presentation โครงการจัดทำฐานข้อมูลและแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา: การออกแบบ | รายงานฉบับเต็ม 

จำนวน: 119 หน้า

วัตถุประสงค์การจัดทำ: เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กลุ่ม Creative Services สาขาการออกแบบของไทย ให้สามารถยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยให้เติบโตต่อได้อย่างยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เนื้อหาสำคัญ: การนำเสนอแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาการออกแบบ ให้สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ จำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด ทั้งจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรม ผู้ใช้บริการ และผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังต้องพิจารณาปัจจัยความสำเร็จที่ประเทศผู้นำในอุตสาหกรรมออกแบบต่าง ๆ ให้ความสำคัญ รวมทั้งการตระหนักถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ของอุตสาหกรรมการออกแบบไทย เพื่อเป็นแนวทางจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมฯ และเสนอแนะแผนปฏิบัติงานเชิงนโยบายที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงต่อไป

กรณีศึกษา: การศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีจากประเทศต้นแบบ ได้แก่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้นำในวงการออกแบบระดับโลก ซึ่งมีทั้งนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการออกแบบให้เกิดประสิทธิผลด้านต่าง ๆ อาทิ การจ้างงานที่มีคุณภาพและมาตรฐาน การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการออกแบบแก่เยาวชนและบุคลากรในอุตสาหกรรม การสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้นักออกแบบพัฒนาทักษะฝีมือสู่การประกวดในเวทีชั้นนำระดับโลก เป็นต้น

สาระสำคัญอื่น ๆ: การศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความท้าทายของอุตสาหกรรมการออกแบบของไทย รวมทั้งแนวทางการยกระดับให้อุตสาหกรรมออกแบบไทยพัฒนาสู่การเป็นดาวรุ่งต่อไปในอนาคต โดยเน้นการสร้างจุดแข็งแก่บุคลากรในอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ

 

เกี่ยวกับรายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์:

รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 12 สาขา