DATA & Statistics

แรงงานสร้างสรรค์ของไทย

แรงงานสร้างสรรค์ไทย ณ สิ้นปี 2560 มีจำนวน 826,026 คน

จำนวนแรงงานโดยรวมของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นประมาณ ร้อยละ 0.46 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 310,415 คน โดยสัดส่วนแรงงานอาชีพสร้างสรรค์คิดเป็นประมาณ ร้อยละ 1 ของแรงงานทั้งหมดเท่านั้น

นอกจากนั้นจำนวนแรงงานอาชีพสร้างสรรค์มีแนวโน้มลดลงถึง ร้อยละ 11 หรือประมาณ 98,500 คน โดยแรงงานอาชีพสร้างสรรค์ที่ลดจำนวนลงมากที่สุด คืองานฝีมือและหัตถกรรม หรือคิดเป็นถึงร้อยละ 80 ของจำนวนแรงงานอาชีพสร้างสรรค์ที่ลดลง รองลงมาคือกลุ่มงานด้านออกแบบ หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของจำนวนแรงงานที่ลดลง 98,500 คน

สาเหตุสำคัญของจำนวนแรงงานที่ลดลงมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คือ กลุ่มงานฝีมือและหัตถกรรมเป็นกลุ่มงานฝีมือประณีตที่ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะจึงทำให้แรงงานรุ่นใหม่หันเหความสนใจไปทำงานในกลุ่มงานอื่นๆ ขณะเดียวกันยังเกิดปัญหาแรงงานสูงอายุเริ่มเกษียณตัวเองขณะที่กลุ่มงานออกแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักออกแบบผลิตภัณฑ์และเครื่องแต่งกายที่อยู่ในอุตสาหกรรมแฟชั่นซึ่งกาลังเผชิญปัญหาไม่สามารถต่อสู้ต้นทุนราคากับประเทศอื่นๆ ในตลาดโลก ประกอบกับมีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมดังกล่าวไปยังประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นสาเหตุสาคัญที่ทำให้จำนวนแรงงานอาชีพสร้างสรรค์ในทั้ง 2 กลุ่มนี้มีแนวโน้มลดลง

นอกจากนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมโฆษณาและกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ที่มีแนวโน้มทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่จากการเข้ามาของยุคดิจิทัลทำให้กิจการต่างๆ ทยอยปิดตัว รวมไปถึงการมีนโยบายไม่รับแรงงานเพิ่มจึงมีส่วนอย่างยิ่งที่อาชีพดังกล่าวจะมีแนวโน้มลดลง1

หน่วย: คน
2559
2560 การเปลี่ยนแปลง
จำนวนแรงงานรวม 67,347,627 67,658,042 310,415
จำนวนแรงงานของอาชีพสร้างสรรค์ 924,526 826,026 -98,500
1. การโฆษณา 212,121 203,014 -9,107
2. สถาปัตยกรรม 66,252
68,199 1,947
3. งานฝีมือและหัตถกรรม 380,198 300,829 -79,369
4. การออกแบบ 81,404 64,088 -17,316
5. ซอฟต์แวร์ 37,184 41,249 4,066
6. ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิดีทัศน์ วิทยุ และการถ่ายภาพ 49,316 51,701 2,385
7. การพิมพ์
17,832 13,761 -4,070
8. พิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ และห้องสมุด 10,911 13,934 3,024
9. ดนตรี ศิลปะการแสดง และทัศนศิลป์
69,309 69,250 -58

อ้างอิง:
1. ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2560). ข้อมูลแรงงานสร้างสรรค์ภายใต้โครงการจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
2. ข้อมูลสารวจกาลังแรงงาน ปี 2560 สานักงานสถิติแห่งชาติ

ที่มา: ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2562). รายงานประมวลผลมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จำแนกตามการผลิต และข้อมูลจำนวนแรงงานที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจ จำนวนแรงงานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และออกแบบวิธีการและการคัดเลือกข้อมูลเพื่อใช้วัดผลตามตัวชี้วัด ด้านผลลัพธ์สร้างสรรค์ (Creative Output). สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)